ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของ อนุธิดา วรสืทธิ์

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


กระบวนการคิดของมนุษย์
ความหมายของการคิด
                        การคิดเป็นกระบวนการทางสมองมีสองลักษณะใหญ่ๆ คือการคิดอย่างมีจุดมุ่มหมายกับการคิดไปเรื่อยๆอย่างไม่มีจุดหมาย (ทิศนา แขมมณี และคณะ 2540:2)การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นกระบวนการทางสมองที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าที่เป็นปัญหา ความต้องการ หรือความสงสัย มากระตุ้น ทำให้จิตและสมองนำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อจะทำให้ปัญหาความต้องการ หรือความสงสันนั้นลดน้อยลงไปหรือหมดไป
เหตุของการคิด
ต้นเหตุของการคิด คือ สิ่งเร้าที่เป็นปัญหาที่เป็นความต้องการ หรือชวนสงสัย   
 สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา  เป็นสิ่งเร้าประเภทสถานการณ์ เหตุการณ์ หรือสภาวะที่มากระทบแล้ว ต้องการทำสิ่งหนึ่งใดที่จะทำให้ปัญหานั้นลดลงลดลงไปหรือหมดไป แต่ไม่อาจทำได้ด้วยวิธีง่ายๆจึงทำให้อยู่ในสภาพตัดสินใจไม่ได้ ไม่มีทางเลือก ไม่มีวิธีการในการปฏิบัติ สภาพการณ์อยู่ในอันตราย หรือ สภาพการณ์สู่ทางไม่ดี เป็นต้น จึงจำเป็นต้องคิด(have to think)เพื่อแก่ที่ปัญหานั้น
                        สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ เป็นความต้องการสิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่าเดิม เช่น ทำได้เร็วขึ้น ทำได้ง่ายขึ้น ลงทุนน้อยลง ผิดพลาดน้อยลง ปลอดภัยมากขึ้น เป็นต้น จึงต้องการการคิด (want to think)มาเพื่อทำให้ความต้องการหมดไป
                สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย เป็นสิ่งเร้าแปลกๆใหม่ๆ ที่มากระตุ้นให้สงสัย อยากรู้ หรือ อาจเกิดจากบุคลิกภาพประจำตัวที่เป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ช่างคิดช่างสงสัย เมื่อกระทบสิ่งเร้าก็เกิดความสงสัย ทำให้ต้องการคำตอบ จึงต้องการการคิดเพื่อตอบข้อสงสัย
คุณค่าของการคิด
                การคิด   ทำให้สามารถตอบคำถามบางประการได้
                การคิด   ทำให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาหรือลดความต้องการซึ้งดีกว่าวิธีการที่ปล่อยไปตามธรรมชาติ(เป็นไปตามการสุ่ม)หรือวิธีลองผิดลองถูก
                การคิดที่มีคุณภาพ จะให้ผลของการคิดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ลดเวลาในการแก้ปัญหา ลดการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหาและช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างถูกต้อง
                การคิดที่ดี ช่วยให้มีการดำเนินชีวิตที่ดี ถูกต้อง และมีคุณค่า

ผลของการคิด

                ผลของการคิด คือ คำตอบ หรือ วิธีการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปกั้ญหาหรือทำให้ความต้องการหรือความสงสัยลดลงไปหรือหมดไป ผลการคิดได้แก่

         1.บทสรุปหรือคำตอบที่ต้องการ

         2.แผนปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน

         3.แนวคิดใหม่ๆความรู้ใหม่ๆทางเลือกใหม่ๆสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

         4.วิธีการในการแก้ปัญหา

         5.ข้อตัดสินใจ

         6.ความเข้าใจที่สามารถอธิบายได้

         7.การทำนายหรือคาดการสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


แผนภาพแสดงกระบวนการคิดของมนุษย์






กลไกลทางสมองกับการพัฒนาความคิดของมนุษย์
                สมอง เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท และเป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบในการควบคุม และจัดระเบียบในการทำงานทุกชนิดของร่างกาย สมองจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ความรู้เรื่องสมองทำให้มนุษย์รู้ว่าเราจะไม่สามารถคิดอะไรได้เลย ถ้าสมองเราไม่ทำงาน แล้วความคิดต่างๆก็เกิดขึ้นมาได้ก็เป็นผลมาจากการทำงานของเครื่องจักรที่อยู่ในสมองเราที่เป็นเซลล์ เป็นเนื้อเยื้อที่เราเรียกว่า เซลล์ประสาท เซลล์พวกนี้ทำให้เรารับความรู้สึกสัมผัสต่างๆได้ทำให้เราเรียนรู้ได้ ทำให้เราเก็บความจำได้ แล้วจากข้อมูลที่เป็นความจำ ก็มาเป็นการเรียนรู้ของเรานั้นเอง ทำให้เรามีความรู้สึกต่างๆ ที่เข้าไปสู่ประสารทสัมผัสทำให้เราตัดสินใจและทำให้เรามีพฤติกรรมตอบสนองออกมา
(นัยพินิจ คชภัคดี,2534:4-5)
                สมองของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณร้อยล้านล้านเซลล์(พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์,2542:7)ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่แตกต่างกันระหว่างทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่เซลล์สมองจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และมีจำนวนเดนไดรท์ (dendrite)ของเซลล์สมองมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองมากขึ้น โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่งๆจะเชื่อมโยงไปยังเซลล์สมองเซลล์อื่นๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์เพื่อส่งข่าวสารกัน โดยกรกะแสประสาทจะเกิดปฏิกิริยาเครื่อนไหวกล้ามเนื้อ ความรู้สึกนึก ความจำ อารมณ์ทั้งหลาย  จึงผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้นำไปสู่การปรับตัวอย่าเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ล่ะคน(พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์,2542:9)
                สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ สมองซีกซ้าย กับ สมองซีกขวา สมองทั้งสองซีกทำงานพร้อมๆกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกันมีบ้างเรื่องสมองซีกซ้ายเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว หรือสมองซีกขวาสั่งการอย่างเดียว แต่ไม่ว่าจะสั่งการโดยสมองซีกใดมันจะหลอมเป็นความรู้สึกเดียวกันในตัวคนเรา(นัยพินิจ คชภัคดี2534:18)สมองแต่ล่ะซีกทำงานแตกต่างกันดังนี้
                สมองซีกซ้าย มีการทำงานเกี่ยวกับการใช้เหตุผล คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ การจัดระบบระเบียบ กิจกรรมทางด้านภาษา การเขียน ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็นตัวควบคุมการกระทำ การฟัง การเห็น และการสัมผัสต่างๆ ของร่างกายทางซีกขวา(พินทุสร ติวุตานนท์ ม...:29)ส่วนสมองซีกขวาทำงานเกี่ยวกับกิจกรรมด้านสุนทรียศิลป์ ได้แก่ นาฏศิลป์ ศิลปะ ดนตรี ด้านการรับรู้ในภาพรวมด้านจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านอารมณ์ ด้านนามธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายศิลปศาสตร์เป็นส่วนใหญ่และยังเป็นตัวควบคุมร่างกายทางซีกขวา
                        จากการทำงานของสมองทั้งสองซีก ทำให้เห็นว่าการกระตุ้นหรือการพัฒนาสมองที่ทำให้สมองมีการเติบโตพัฒนานั้นควรพัฒนาสมองให้เติบโตทั้งสองซีกอย่างสมดุลกัน เพราะสมองมีผลต่อการกำหนดความสามารถทางด้านต่างๆ ของมนุษย์ รวมถึงมีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยของมนุษย์ด้วย เช่น หากในส่วนของสมองซีกซ้ายกำลังเจริญเติบโต เผอิญมาเกิดปัญหาในช่วงนั้น จนทำให้สมองซีกซ้ายไม่เจริญเติบโตเด็กก็จะถูกกดพัฒนาการด้านคำนวณ ด้านภาษา ด้านความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันถ้าสมองซีกขวาเกิดปัญหาในระหว่างการเจริญเติบโตจะทำให้บุคคลนั้นมีปัญหาด้านการจินตนาการ ศิลปะ อารมณ์ในทางตรงกันข้ามหากสมองซีกขวาของเด็กคนใดได้รับการส่งเสริมค่อนข้างมาก การเจริญเติบโตเป็นปกติก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นจิตกร เป็นศิลปินหรือนักแสดง  ขณะเดียวกันถ้าสมองซีกซ้ายของเด็กเจริญเติบโตดีและได้รับการส่งเสริม ก็มีแนวโน้มว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์ นายธนาคาร ทหาร

                อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าเราควรพัฒนาสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ หากเพราะพัฒนาสมองซีกซ้ายมากเป็นพิเศษ ก็อาจทำให้ใช้ความฉลาดไปในทางเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เพราะจินตนาการไม่ออกว่าคนที่ถูกเอาเปรียบจะเป็นอย่างไร หรืออาจจะทำให้สังคมเราเต็มไปด้วยการฆ่าฟันเอาชนะ เอาเปรียบกันด้วยความฉลาด ไร้คุณธรรม เพราะไม่มีสมองซีกขวาที่เน้นในเรื่องความรัก ความเข้าใจ หรือคุณธรรม แต่ขณะเดียวกันถ้ามีสมองซีกขวาอย่างเดียว ประเทศก็ล้มจมเหมือนกัน เพราะมีแต่คนพูดเรื่องคุณธรรม แต่ไม่รู้จักทำมาหากิน ไม่รู้จักการส่งออกว่าจะทำอย่างไร ค้าขายไม่เป็น(นัยพินิจ คชภัคดี,2534:19-2o)


ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาของสมอง
                ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาของสมอง มีดังนี้
                1.พันธุกรรม
                                เนื่องด้วยมนุษย์ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ดังนั้นสมองจึงมีส่วนมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ มีหลักฐานจากการศึกษาพบว่า คู่แฝดที่ถูกแยกไปเลี้ยงในครอบครัวที่แตกต่างกัน สถานที่ต่างกัน เมื่อโตขึ้นพบว่าทั้งคู่มีสติปัญญาใกล้เคียงกัน มีอุปนิสัย ความถนัด ความสามารถในด้านเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักฐานสนับสนุนว่าพันธุกรรมมีผลต่อการพัฒนาสมอง
                2.อาหาร
                                อาหารเป็นสิ่งที่ร่างกายใช้ในการเจริญเติบโต การสร้างเซลล์ใหม่หรือขยายเซลล์ในร่างกายจำเป็นต้องใช้สารอาหาร เช่น โปรตีน การขาดสารอาหารนอกจากมีผลทางร่างกายแล้วยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วย ผลกระทบที่เกิดจากสมองของเด็กเป็นโรคขาดสารอาหารก็คือ เซลล์ประสาทไม่ได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะวัยกำลังเจริญเติบโต เซลล์สมองกำลังยื่นกิ่งก้านสาขาออกไปเพราะกิ่งก้านที่มียื่นออกไปนั้น มันต้องการสารอาหารพวกโปรตีนไปเป็นโครงสร้าง หากช่วงนี้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ กิ่งก้านของเซลล์สมองก็จะไม่สามารถแตกกิ่งก้านยื่นออกไป มันก็ยืดไม่ออก สมองก็หยุดการเจริญเติบโตอยู่แค่นั้นจนกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน สมองพิการ(นัยพินิจ คชภักดี,2534:27)
                3.สิ่งแวดล้อม
                                มีการทดลองที่ทำการทดลองกับสัตว์ เมื่อนำผลมาสนับสนุนว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการพัฒนาสมองของสัตว์ เช่นนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟฟอร์เนีย ประกอบด้วย มาร์คโรเซนไวท์(Marian Diamond)c]และเอดเวริด เบนเนท(Edward bennett)ได้นำหมูมาคอกหนึ่งแล้วแบ่งเป็นสามกลุ่ม
                                กลุ่มแรก เอามาขังกรงเดี่ยวในกรงเหล็กที่ขังสัตว์ธรรมดา มีกระบอกข้าว กระบอกน้ำ ให้มีอาหารกินต่ไม่มสิ่งกระตุ้น
                                กลุ่มที่สอง ใส่หนูสงในกรงละ 3-4 ตัวใหอาหารและน้ำเช่นเดียวกับกลุ่มแรกแต่มีเพื่อนเล่น
                                กลุ่มที่สาม ในกรงใส่ของเล่นด้วย คือ มีเศษกกระดาษ มีด้ายมีเชือก มีลูกบอล ให้อาหารและน้ำเช่นเดียวกับกลุ่มแรก
                  เมื่อเลี้ยงหนูไปได้ประมาณ 6เดือนถึง 1 ปีก็นำหนูมาทดสอบความเฉลียวฉลาดโดยนำมาทดสอบความเฉลียวฉลาดโดยนำมาทดสอบทางวิ่งแล้วให้เลือกทางวิ่งดูว่ามันแก้ปัญหาได้หรือไม่ โดยทำให้รู้หนูรู้ว่าต้องวิ่งทางนี้ถึงได้รางวัลคือ อาหาร วิ่งทางนี้ถูกทำโทษคือ ถูหซ็อดด้วยไฟฟ้า ปรากฏว่าหนูที่มาจากกรงที่มีสิ่งเร้าอย่างพร้อมเพรียงหรือกลุ่มที่ 3 ฉลาดกว่าหนูกรงอื่นๆมาก ส่วนกรงที่ 2 ยังพอมีอาการปกติแต่ตัวที่ถูกขังเดี่ยวมีความว้าเหว่และการเรียนรู้ลดลงเหลือแค่ 30-40 % เท่านั้นเองคือไม่ปกติ
                          จากนั้นนักวิทยาสาสตร์กลุ่มนี้ ได้เอาสมองของหนูทั้งสามกรงมาชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่ามีน้ำหนักทางสมองแตกต่างกันไม่มากนัก แต่เมื่อนำเนื้อสมองของหนูทั้ง 3 กลุ่มไปตัดออกเป็นชิ้นๆ ส่องดูด้วยกล้อจุลทรรศน์ เพื่อดูว่ากิ่งก้านของสมองที่ยื่นออกไปนั้นสั้นหรือยาวและสามารถส่งไปไกลจนสามารถติดต่อกับเซลล์อื่นๆได้หรือไม่ รวมทั้งมีจำนวนเส้นประสาทแตกต่างกันหรือไม่ ปรากฏว่าเซลล์และประสาทสมองของหนูทั้ง 3 กลุ่มนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน หนูตัวที่ถูกเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีการกระตุ้นอย่างดี เซลล์สมองจะมีเซลล์ประสาทยื่นออกไปไกลจนสามารถติดต่อกับปรายประสาทอื่นๆ และแตกกิ่งก้านสาขาออกไปได้อย่างสมบูรณ์
                          ผลการทดลองนี้ จึงอาจสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลทำให้สมองเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้ มีผลต่อความเฉลียวฉลาด ประสิทธภาพของพฤติกรรมและการสร้างเซลล์ประสาทในสมอง แต่อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงว่ายังไม่หนักแน่นพอที่จะตอบได้ ว่าสิ่งแวดล้อมมีผลอย่างไร อะไรที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้มีการสร้าเซลล์กันแน่ การมีเพื่อน การเล่น หรือการออกกำลัง จากข้อโต้แย้งดังกล่าวทำให้มีการทดลองในขั้นต่อไป

                         นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ คอลลิน เบลคมอร์ ได้ทำการวิจัยเพื่อต้องการที่จะทราบว่าสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมีผลต่อการกำหนดวงจรประสาทได้แค่ไหน เขาได้ทำการทดลองโดยเอาลูกแมวที่เกิดใหม่ๆ ที่มาจากลูกแมวครอกเดียวกัน 3-4 ตัว ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมเลย  กลุ่มหนึ่ง เอาไปเลี้ยงในห้องที่เอาสีขาวกับสีดำทา ให้เป็นแถบสีในแนวระนาบนอน และเลี้ยงในห้องปกติที่มีออุปกรณ์ทุกอย่าง เช่นมีภาพ มีของเล่น อาหาร ส่วนกลุ่มที่ 2 เลี้ยงในห้องที่มีสภาพแวดล้อมไม่แตกต่างจากกลุ่มแรกเพียงแต่ทาสีด้วยสี ขาว-ดำในแนวตั้งเท่านั้น ไม่เห็นขอบเลย ส่วนอีกห้องหนึ่งเลี้ยงอยู่ในห้องที่มีแต่ขอบอย่างเดียว คือเห็นแต่สิ่งที่มีแต่แนวนอนหมดเลยหลังจากเลี้ยงลูกแมวตั้งแต่แรกเกิดไปจน ราวๆ 50 วันแล้วเอาลูกแมวมาเดินบนโต๊ะตามสภาพแวดล้อมภายนอก โดยปล่อยให้มันเดินไปมา พบว่า แมวที่เลี้ยงในห้องที่มีภาพในแนวตั้งถ้าเออาเสาหรือของที่มีลักษณะเป็นแท่งไปวางบนโต๊ะ พอมันเดินมาถึงเสามันจะเดินอ้อมมาเป็นอย่างดี แต่พอมันเดินมาถึงขอบโต๊ะ มันจะไม่เห็น แล้วจะเดินตกโต๊ะลงไปเหมือนกับมันไม่เคยมองเห็นมาก่อน

                        เช่นเดียวกับแมวกลุ่มที่เลี้ยงในภาพแนวนอน ถ้าเดินบนโต๊ะ แล้วมีเสาหรืออะไรที่เป็นแนวตั้งวางอยู่แมวจะเดินชนไปเลยเหมือนกับว่ามองไม่เห็นเช่นกัน แต่เมื่อเดินมาถึงขอบโต๊ะมันจะหยุด รู้ว่าเป็นขอบโต๊ะแล้วจะไม่เดินตกลงไป
                        เบลคมอร์ เอาแมวพวกนี้ไปวัดสํญญาณประสาทในสมอง พบว่า สมองของแมวที่เลี้ยงในสิ่งแวดล้อมแนวตั้ง จะมีเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อสัญญาณภาพในแนวตั้งเท่านั้นจะไม่มีเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อภาพที่ฉายเข้าไปในตาที่เป็นแนวนอนเลย และเช่นเดียวกันแมวอีกกลุ่มหนึ่งก็เป็นเช่นนั้น คือไม่มีเซลล์ประสาทที่ตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นแนวตั้งเลย (พินิจ คชภัคดี,2534;29-32)จากการทดลองกับสัตว์ให้ผลยืนยันว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลต่อการพัฒนาการของสมองได้เช่นกัน
                        ดังนั้นพันธุกรรม อาหาร และสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาของสมอง ในส่วนของพันธุกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิดไม่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก่ไขได้ คงเหลือปัจจัยอีกสองอย่างคือ อาหาร และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยที่มนุษย์สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และแก่ไข เพื่อนำมาให้เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการพัฒนาของสมองได้